การแก้ปัญหาตลาดแรงงานและอุปสงค์การจ้างงาน...หลังทีมเศรษฐกิจใหม่
วันที่ 20 ก.ค. 2563 เวลา 08:08 น.
คอลัมน์เศรษฐกิจรอบทิศ
ภาวะตลาดแรงงานภายใต้เศรษฐกิจถดถอยสะท้อนจากภาคธุรกิจทั้งรายเล็ก-กลางและใหญ่กำลังประสบอยู่เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่ากระทบเป็นลูกโซ่ไล่เรียงตั้งแต่ภาคส่งออกลูกค้าต่างประเทศมีการยกเลิกออเดอร์คำสั่งซื้อ
ภาคโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องลูกค้าต่างชาติหายไปร้อยละ 82 ธุรกิจภายในประเทศการปิดพื้นที่เศรษฐกิจทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปิดกิจการไปประมาณ 2 เดือนเศษกระทบต่อสภาพคล่องหลายธุรกิจไม่สามารถกลับมาได้
กำลังซื้อจากตลาดหดตัวเป็นประวัติการณ์ ภาคเอกชนส่วนหนึ่งขาดทุนสะสมจนไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติและต้องปิดตัวชั่วคราวมีการลดแรงงานลดเงินเดือนไปจนถึงปิดกิจการถาวร เศรษฐกิจของประเทศกำลังจะผ่านจากเศรษฐกิจชะลอตัวไปสู่เศรษฐกิจถดถอย สะท้อนจากสถานประกอบการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นวงกว้างแตกต่างกัน
เช่น ธุรกิจอยู่ในสภาวะหดตัวคำสั่งซื้อลดลง-กิจการบางแห่งรายได้หายไปเกือบค่อนที่หนักถึงขั้นต้องปิดกิจการ สถานประกอบการที่อยู่ในภาคส่วนที่มีความเสี่ยงล้วนขาดสภาพคล่องรอมาตรการจากทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ที่จะมาแทนรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่ยกแพ็คลาออกซึ่งจะเข้ามากู้วิกฤตเศรษฐกิจให้อยู่รอด
ผู้เขียนได้นำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งการวิจัยของ WEF : World Economic Forum, การสำรวจของจ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) และการวิจัยของ EIC (ธนาคารไทยพาณิชย์) ฯลฯ มาวิเคราะห์ถึงผลกระทบของตลาดแรงงานจากแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่าผู้ที่ทำงานในองค์กรขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบหนักสุด
โดยเฉพาะผู้ที่เป็นแรงงานวัยตอนต้นที่มีอายุงาน 1-2 ปีซึ่งมีค่าชดเชยต่ำและแรงงานอายุมากตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปซึ่งมีค่าจ้างสูงผลิตภาพแรงงานต่อรายได้ต่ำปรับตัวยากหากมีการปรับโครงสร้างจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะให้ออกจากงาน
สำหรับผู้ที่ยังทำงานส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายปรับเงินค่าจ้างบางรายมีการทำข้อตกลงลดเงินเดือนร้อยละ 10 – 20 ไปถึงร้อยละ 50 ก็ยังยอมเพื่อแลกกับการยังคงจ้างงานต่อไปจาผลสำรวจผลว่าร้อยละ 9 มีโอกาสที่จะถูกเลิกจ้าง
ความเสี่ยงของผู้ใช้แรงงานครึ่งปีหลังสะท้อนจากผู้ที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการทั้งอุตสาหกรรมและภาคบริการที่มีความเปราะบางมีแรงงานที่อาจได้รับผลผกระทบประมาณ 2.976 ล้านตำแหน่ง เริ่มจากผู้ประกันสังคมตามมาตรา 33 ซึ่งกระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมเข้าไปเยียวยาจ่ายเงินร้อยละ 62 ของค่าจ้างเพื่อไม่ให้มีการเลิกจ้างเดือนมิถุนายนมีจำนวนประมาณ 1.441 ล้านคน
พบว่าหลังครบ 3 เดือนนายจ้างเริ่มมีการทยอยเลิกจ้าง อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของการปิดงานชั่วคราวของสถานประกอบการต่างๆ ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงต้นเดือนกรกฎาคม มีธุรกิจจำนวน 7,098 แห่งหยุดงานชั่วคราวตามมาตรา 75 กระทบแรงงานมากว่า 1.535 ล้านคน
โดยในจำนวนนี้เป็นการหยุดงานสิ้นเชิงสัดส่วนร้อยละ 52.5 ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์-เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมพลาสติก โรงแรม ภัตตาคาร อสังหาริมทรัพย์ สถานบันเทิงและบริการต่าง ๆ
ภูมิทัศน์ตลาดแรงงานขณะนี้อยู่ในสภาพซบเซาสะท้อนจากข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านอุปสงค์ของนายจ้างพบว่าจำนวนประกาศรับสมัครแรงงานเพิ่มของสถานประกอบการต่าง ๆ ช่วงโควิด-19 แพร่ระบาดลดลงร้อยละ 31.4 เทียบจากเดือนก่อนที่จะมีการแพร่ระบาด
ขณะที่ซัพพลายด้านแรงงานที่วัดจากจำนวนใบสมัครงงานที่ประสงค์ต้องการทำงานเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 แนวโน้มใหม่ของตลาดแรงงานพบว่าใบสมัครจากผู้สำเร็จอุดมศึกษาที่จบใหม่ต้องการเปลี่ยนสายงานจากที่เรียนมาโดยตำแหน่งงานที่ต้องการทำงาน
เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับด้านการค้าปลีก-การส่งออก-การตลาดและกระจายสินค้า-โลจิสติกส์ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับดิจิทัลมีอัตราสมัครงานสูงขึ้นมากถึง 1.21 เท่าโดยความต้องการของนายจ้างที่มีต่อแรงงานวัยตอนต้นคือทักษะเฉพาะด้านและความกระตือรือร้นในการทำงาน อย่างไรก็ตามอุปสงค์ความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีหลังมีจำนวนประมาณ 7.5 แสนตำแหน่งถึง 1.0 ล้านตำแหน่งสะท้อนจากจำนวนโรงงานใหม่ที่ขอเปิดกิจการจำนวน 1,702 แห่งความต้องการแรงงานเพิ่ม 1.237 แสนตำแหน่ง แรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ยังต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 2.0 แสนตำแหน่ง
นอกจากนี้ยังโครงการที่จะรับผู้จบการศึกษาใหม่ที่ใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลเป้าหมายการจ้างงานเพิ่มขึ้น 4.104 แสนคนส่วนใหญ่ทำงานในต่างจังหวัด
ทุกครั้งหลังการผ่านพ้นของวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาดแรงงานที่เป็นพลวัตรจากการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อธุรกรรมธุรกิจและกระบวนการผลิตในศตวรรษที่ 21 ปัจจัยหลักมาจากการใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดสามารถสอดคล้องกับการแข่งขันวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสซึ่งยังไม่ทราบว่าจะจบลงเมื่อใดและผลกระทบมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ณ เวลานี้จึงยากที่จะพยากรณ์ว่าเศรษฐกิจจะพลิกฟื้นมาเมื่อใด
แต่แน่นอนว่าหลายธุรกิจอาจไม่กลับคืนจากการล้มหายตายจากส่งผลต่อความสมดุลจากตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไป
ความจำเป็นเร่งด่วนคือการปรับเปลี่ยนหลักสูตรของสถาบันการศึกษาเริ่มจากในมหาวิทยาลัยที่พบว่ามากกว่า 230 หลักสูตรไม่สามารถตอบโจทย์ภาคเอกชนสมัยใหม่ สถาบันการศึกษาต้องตระหนักรู้ถึงการก้าวผ่านในหนึ่งทศวรรษข้างหน้า งานในอนาคตและหลักสูตรตลอดจนตำราที่ใช้เรียนใช้สอนอยู่ในปัจจุบันร้อยละ 27 จะหมดความต้องการกลายเป็นทักษะล้าสมัยกระทบไปถึงอาชีพต่างๆ จำเป็นที่สถาบันการศึกษาต้องนำร่องปรับหลักสูตรใหม่โดยใช้อุปสงค์ความต้องการและทักษะของตลาดแรงงานเป็นตัวตั้ง
ประเด็นสำคัญคือระบบโค้ช “Coaching” ที่จะเป็นผู้นำทักษะใหม่ของยุค 4.0 จะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร เป็นตรรกะใหม่ที่ผู้บริหารการศึกษาตลอดจนอาจารย์จะต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานครั้งใหญ่หลังการผ่านพ้นของวิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19
การแก้ปัญหาตลาดแรงงานซบเซาเกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความสัมฤทธิ์ผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศคงต้องดู “กึ๋นทีมเศรษฐกิจ” ที่จะเข้ามาใหม่....อดใจรอหน่อยนะครับ
( สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์ www.tanitsorat.com หรือ https://ift.tt/38GUnQt )
July 20, 2020 at 08:08AM
https://ift.tt/32zmobr
การแก้ปัญหาตลาดแรงงานและอุปสงค์การจ้างงาน...หลังทีมเศรษฐกิจใหม่ - โพสต์ทูเดย์
https://ift.tt/2Y7cf1E
Bagikan Berita Ini
0 Response to "การแก้ปัญหาตลาดแรงงานและอุปสงค์การจ้างงาน...หลังทีมเศรษฐกิจใหม่ - โพสต์ทูเดย์"
Post a Comment