กรณีของ “จอร์จ ฟลอยด์” ชายผิวดำที่เสียชีวิตจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจมินนิอาโปลิส สหรัฐอเมริกา จุดประกายการประท้วงต่อต้านความไม่เท่าเทียมอันเนื่องมาจากความแตกต่างเรื่องสีผิวและเชื้อชาติในสหรัฐฯ ผู้ชุมนุมประท้วงต่างเรียกร้องให้ทางการเปลี่ยนชื่อโรงเรียน ถนน และสถานที่อีกหลายแห่ง ซึ่งตั้งชื่อตามบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างความไม่เท่าเทียมในสังคม หลังจากที่มีการเรียกร้องให้รื้อถอนอนุสาวรีย์และรูปปั้นของบุคคลในประวัติศาสตร์เหล่านี้ออกไป
ทั่วโลกพร้อมใจรื้อถอนหลักฐานสนับสนุน “การค้าทาสผิวดำ” จากกรณี "จอร์จ ฟลอยด์"
หลายพันเมืองในสหรัฐฯ ล้วนมีอนุสาวรีย์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การค้าทาส โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ เช่น อนุสาวรีย์ Robert E. Lee และ Stonewall Jackson ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพฝ่ายใต้ที่สนับสนุนการค้าทาส ในช่วงสงครามกลางเมือง ปี 1861 – 1865 ซึ่งการโต้เถียงเรื่องรูปปั้นสมาพันธรัฐอเมริกา ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเมื่อ 3 ปีก่อน เมื่อกลุ่มผู้นิยมลัทธิชาตินิยมผิวขาวและนีโอนาซีมารวมตัวกันในเมืองชาร์ลอตส์วิลล์ ในรัฐเวอร์จิเนีย เพื่อประท้วงการรื้อถอนรูปปั้นสมาพันธรัฐ 2 แห่ง แต่กลุ่มคนที่ต้องการรื้อถอน ชี้แจงว่า รูปปั้นเหล่านี้เป็นตัวแทนของระบบการเหยียดสีผิว และลัทธิคนผิวขาวที่มีความสูงส่งกว่าคนผิวสีอื่น ๆ ขณะที่กลุ่มต่อต้านกล่าวว่า รูปปั้นเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมตอนใต้ และกังวลเรื่องการลบประวัติศาสตร์ นอกจากอนุสาวรีย์แล้ว ชื่ออาคาร ถนน และสถานที่ต่าง ๆ ก็ใช้ชื่อวีรบุรุษของรัฐทางตอนใต้เช่นกัน แม้หลายสถานที่จะมีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำก็ตาม
“การบังคับให้ลูก ๆ ไปโรงเรียนที่ตั้งชื่อตามคนที่ต่อสู้เพื่อลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของพวกเขา เป็นสิ่งที่ผิด ตอนนี้คนเริ่มเข้าใจแล้วว่าการเหยียดสีผิวอย่างเป็นระบบและอภิสิทธิ์ของคนขาวเป็นอย่างไร พวกเขากำลังเริ่มเห็นความเชื่อมโยง” Lecia Brooks โฆษกประจำศูนย์กฎหมายประชาสงเคราะห์ทางตอนใต้ (Southern Poverty Law Center หรือ SPLC) กล่าว
SPLC รวบรวมสัญลักษณ์ของสมาพันธรัฐได้มากกว่า 1,800 สัญลักษณ์ในรายงานปี 2019 ซึ่งรวมถึงชื่อโรงเรียนมากกว่า 103 โรง ชื่อเมืองต่าง ๆ มากกว่า 80 เมือง และวันหยุดของ 9 รัฐ ซึ่งในหลายพื้นที่ได้รื้อถอนรูปปั้นหรือเปลี่ยนชื่อสถานที่ต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว เพราะการชุมนุมประท้วงที่ปะทุขึ้นจากการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ในเวอร์จิเนีย กลุ่มนักเรียนได้รวบรวมรายชื่อกว่า 15,000 รายชื่อ เพื่อยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงชื่อและสัญลักษณ์ของโรงเรียนมัธยม Lee-Davis ซึ่งตั้งชื่อตาม Robert E. Lee และ Jefferson Davis ทั้งนี้ ทีมกีฬาของโรงเรียนยังมีชื่อว่า “ทีมสมาพันธรัฐอเมริกา” อีกด้วย
“ฉันเฝ้าดูการเติบโตของการเคลื่อนไหว Black Lives Matter และฉันก็บอกตัวเองอยู่เสมอว่าโรงเรียนของฉัน และชื่อของมันช่างน่าอับอายและเหยียดเชื้อชาติเสียเหลือเกิน ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพูดถึงเรื่องนี้ แต่ฉันคิดว่าเราก็น่าจะลองพยายามกันอีกสักครั้ง” Sophie Lynn นักเรียนวัย 16 ปีที่เริ่มรวบรวมรายชื่อ กล่าว
การประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมและการปฏิบัติกับคนทุกสีผิวอย่างเท่าเทียมลุกลามไปทั่วโลก หลังจากการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา ผู้คนรู้สึกโกรธแค้น และแสดงออกความรู้สึกด้วยการรื้อถอนรูปปั้นต่าง ๆ เช่น ผู้ชุมนุมประท้วงดึงรูปปั้นของคนค้าทาสในเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษลง และรูปปั้นของพระเจ้า Leopold II กษัตริย์นักล่าอาณานิคม ในเมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม
ในสหรัฐฯ มีการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงชื่อถนนและสถานที่ต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อของนายทาส เช่น ในแมดิสันอเวนิว หรือวอชิงตันสแควร์ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การรื้อถอนรูปปั้นสมาพันธรัฐอเมริกา โดยระบุว่า การกระทำลักษณะนี้อาจนำไปสู่การรื้อถอนอนุสาวรีย์ของ George Washington และ Thomas Jefferson บิดาผู้ก่อตั้งประเทศที่เป็นเจ้าของทาสจำนวนมาก
June 12, 2020 at 02:33PM
https://ift.tt/2YlkUh6
“การเหยียดสีผิว” ปัญหาที่ซ่อนอยู่ในชื่อสถานที่ต่าง ๆ ของสหรัฐฯ - Sanook
https://ift.tt/2Y7cf1E
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“การเหยียดสีผิว” ปัญหาที่ซ่อนอยู่ในชื่อสถานที่ต่าง ๆ ของสหรัฐฯ - Sanook"
Post a Comment