เมื่อมีการตั้งกลไกใหม่ที่เรียกว่า “ศบศ.” เพื่อบริหารวิกฤตเศรษฐกิจควบคู่ไปกับ “ศบค.” ซึ่งได้สามารถแก้ปัญหาโควิดทางด้านการแพทย์ได้ดีพอสมควร
คำถามใหญ่ก็คือว่ากลไกใหม่ที่ว่านี้จะมีความคล่องตัวและสร้างประสิทธิภาพได้อย่างที่ประชาชนคาดหวังหรือไม่
เพราะมาตรการช่วยเหลือที่ผ่านมาทางด้านเศรษฐกิจยังไม่สามารถตอบโจทย์สำคัญ ๆ ได้ทั้งหมด
คุณทศพร ศิริสัมพันธ์, เลขาธิการสภาพัฒน์, ในการแถลงข่าวเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาบอกว่าแนวทางการบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีเช่น
เร่งรัดมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายและเป็นไปตามปฏิทินเวลาที่กำหนดไว้
ดูแลปัญหาหนี้เสีย (NPLs) ในภาคการผลิตบางภาคส่วนไม่ให้ลุกลามไปสู่ภาคสถาบันเงิน
ดูแลภาคธุรกิจที่ยังมีปัญหาในการฟื้นตัว เช่น ภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงเร่งรัดการจ้างงาน
นอกจากนี้ยังมีการขับเคลื่อนภาคการส่งออก โดยใช้จุดแข็งด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในการเอื้อประโยชน์ต่อภาคการส่งออก
นอกจากนี้ยังดูแลสถานการณ์ภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำ
เท่านั้นไม่พอยังต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนและงบรายจ่ายประจำของภาครัฐ และเบิกจ่ายงบเงินกู้ให้เป็นตามเป้าหมาย
อีกด้านหนึ่ง็ต้องควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ให้มีการระบาดรอบ 2
ที่น่าเป็นห่วงอีกด้านหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจคือบรรยาการการเมือง
คุณทศพรบอกว่าเพราะหากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นมาอีกก็จะเจอกับปัญหาซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจในช่วงนี้
ข้อมูลอีกชุดที่น่าเป็นห่วงคือจำนวนคนตกงาน
ตัวเลขทางการบอกว่าจำนวนผู้มีงานทำในช่วงไตรมาส 2/63 อยู่ที่ 37.1 ล้านคน ลดลง 7 แสนคน เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/62
ส่วนจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1.95%
สถิติทางการบอกว่ามีแรงงานในระบบตกงานแล้ว 4.2 แสนคน และอีก 1.76 ล้านคน
คนเหล่านี้ปัจจุบันมีสถานะเป็นแรงงานในสถานประกอบการอยู่
แต่มีความเสี่ยงถูกเลิกจ้างในอนาคต หากธุรกิจไม่สามารถกลับมาประกอบกิจการได้ตามปกติ
“แรงงานในระบบตอนนี้ มีคนตกงานจริงๆอยู่ที่ 4.2 แสนคน และมีแรงงานที่ได้รับการเยียวยาจากเหตุสุดวิสัย เพราะสถานประกอบการไม่สามารถประกอบกิจการได้อีก 1.76 ล้านคน ซึ่งถ้าสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น มีการเปิดเมือง สถานประกอบการเปิดตัวได้ จำนวนก็จะลดลง แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น สถานประกอบการปิดตัว คนกลุ่มนี้จะกลายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงว่างงานเพิ่มเติม”คุณทศพรบอก
นั่นหมายความว่าความเสี่ยงของคนมีงานทำอยู่ขณะนี้ที่จะตกงานยังไม่ได้หายไปไหนตราบที่ยังไม่มีอะไรชัดเจน
เมื่อตกงานหรือรายได้หาย ตัวเลขหนี้สินครัวเรือนที่หนักอยู่แล้วก็ยิ่งเสื่อมทรุดลง
ณ สิ้นไตรมาส 1/63 พบว่าหนี้สินครัวเรือนอยู่ที่ 13.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่น่าตกใจคือ ตัวเลขนี้คิดเป็น 80.1% ต่อจีดีพี
สูงสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2/59
ที่กลายเป็นปัญหาต่อเนื่องคือหนี้เพิ่มขึ้น ความสามารถในการจ่ายคืนก็ลดน้อยถอยลงอย่างแรง
ภาษาทางการเรียกว่า “คุณภาพสินเชื่อ”
ซึ่งพบว่ายอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ณ สิ้นไตรมาส 1/63 มีมูลค่า 1.56 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้น 23.6%
และมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.23% เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 2.9% ในไตรมาสก่อน
“แนวโน้มสินเชื่อครัวเรือนในไตรมาส 2/63 ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการสินเชื่อในภาพรวมที่ปรับตัวลดลง ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการหดตัวทางเศรษฐกิจที่จะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รวมถึงต้องเฝ้าระวังและติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจัยของภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาภัยแล้ง และความไม่แน่นอนในการแพร่ระบาดของโควิด” คุณทศพรบอก
นอกจากนี้ยังเป็นห่วงผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง อีก 16 ล้านคน อาจขาดสภาพคล่อง
พูดง่ายๆ คือเงินหมุนวันต่อวันขาดหายไป
ภาครัฐบอกว่าได้เข้าไปดูแลส่วนนี้ แต่ในความเป็นจริง สามารถเข้าถึงคนที่ต้องการความช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องมากน้อยเพียงใดยังไม่มีรายงาน
คุณทศพรยอมรับด้วยว่า หากสถานการณ์ COVID-19 ในไทยเกิดการระบาดรอบ 2 รุนแรงถึงขั้นล็อกดาวน์เศรษฐกิจอีกรอบ อาจมีคนตกงานเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคน
ลองวาดภาพว่าจะมีคนตกงานเพิ่มเป็น 8 ล้านคน
กับปัญหาสังคมและการเมืองที่จะตามมา.
August 20, 2020 at 11:25PM
https://ift.tt/3l4iJt0
ปัญหาท้าทายหนักหน่วงรอ ศบศ. อยู่เต็มตะกร้า - ไทยโพสต์
https://ift.tt/2Y7cf1E
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ปัญหาท้าทายหนักหน่วงรอ ศบศ. อยู่เต็มตะกร้า - ไทยโพสต์"
Post a Comment