Search

วัด ศูนย์กลางศรัทธา : รูปแบบการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่สูง - ผู้จัดการออนไลน์

https://ift.tt/2XZS4CW


รายงาน

วันที่ 9 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา นายชนศวรรตน์ ธนศุภรณ์พงษ์ นายนำพล คารมปราชญ์ นายภัทรพล ณ หนองคาย คณะอนุกรรมาธิการศึกษา เสนอแนะ การแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดิน เดินทางไปที่วัดเวฬุวัน ตำบลท่าขนุนอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายสืบสาย ศักดิ์โสภิษฐ์ นายอำเภอทองผาภูมิ นายจักขุทิพย์ จตุรพรหม ประธานมูลนิธิพิทักษ์คชสาร ส่วนราชการในพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ ให้การต้อนรับ จากนั้นทางคณะได้เข้ากราบสักการะ หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน และประธานที่ปรึกษามูลนิธิพิทักษ์คชสาร พร้อมขอรับทราบการดำเนินโครงการที่ผ่านมา รวมทั้งติดตามความสำเร็จด้านการจัดสร้างแหล่งน้ำและอาหาร สำหรับช้างป่าและสัตว์ป่า ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร-สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า ประชาร่วมใจ ถวายในหลวง


หลวงปู่สาครฯ ได้บรรยายให้คณะฯ ฟังว่า พื้นที่อำเภอทองผาภูมิมีภูเขาน้อย-ใหญ่ล้อมรอบชายแดนไทยเมียนม่า มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช้างป่านั้นมีอยู่กว่า 200 เชือก ในยามที่หน้าฝนผ่านพ้นไปมักจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบให้ช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ ได้ดื่มกิน นอกจากนั้นภัยแล้งที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบบริเวณวัดและชุมชนต่างๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าวหลวงปู่จึงมีแนวความคิดที่จะทำให้ประชาชนมีน้ำสำหรับใช้ในครัวเรือนและน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรตลอดทั้งปี รวมทั้งสัตว์ป่าที่จำเป็นต้องมีน้ำและอาหารไว้ดื่มกินเพื่อไม่ให้ลงมาทำลายกัดกินพืชเกษตรของชาวบ้านที่ปลูกไว้ หลวงปู่จึงได้ร่วมกับอุบาสก อุบาสิกา และทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ จัดสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กขึ้นในพื้นที่ป่าซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยการจัดสร้างฝายกึ่งสระซอยซีเมนต์ 7 แห่ง ขุดเจาะบ่อบาดาลจำนวน 34 บ่อ รวมทั้งยังได้จัดสร้างโรงผลิตน้ำดื่มสะอาดเพื่อการบริโภคในโรงเรียนและชุมชนจำนวน 4 แห่ง ยิ่งกว่านั้นยังจัดทำกิจกรรมปลูกพืชอาหารสัตว์บริเวณแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันของราษฎรในชุมชนกับช้างป่าทองผาภูมิ

หลังจากนั้นหลวงปู่สาครฯ ได้พาคณะเดินทางเข้าสำรวจการจัดสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กขึ้นในพื้นที่ป่า บริเวณสระพุปูราชินีและสระท่าทุ่งนา ภายในสวนป่าทองผาภูมิ โดยสระทั้ง 2 แห่งนี้ ได้มีการนำรูปแบบการทำซอยซีเมนต์มาใช้เพื่อลดการซึมผ่านของน้ำลงในชั้นดินและสามารถเก็บกักน้ำจากธรรมชาติในปริมาณมากและยาวนานขึ้น


นายสังศิต กล่าวว่า การแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในที่สูง รูปแบบของหลวงปู่สาครต้องใช้พลังความร่วมมือจากภาคประชาชนและหน่วยงานต่างๆ โดยมีหลวงปู่สาคร อันเป็นที่เคารพรักศรัทธาของประชาชน เป็นศูนย์กลางและเป็นแบบอย่างหนึ่งของสังคมไทย ที่ระดมพลังจากชุมชนและภาครัฐมาแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้เป็นอย่างดี

“การจัดทำฝายแกนซอยซีเมนต์กับแหล่งน้ำขนาดเล็ก นับเป็น 1 ใน 10 รูปแบบการพัฒนาเพื่อท้องถิ่นพึ่งพาตนเอง ที่ทางคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ได้มีการขับเคลื่อนในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งหากทุกภาคส่วนได้มีการนำไปปรับใช้บริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องของน้ำดิบขาดแคลนให้กับประชาชน สัตว์ป่า และสิ่งมีชีวิตได้เป็นอย่างดี” นายสังศิตกล่าว


จากนั้นทางคณะได้เดินทางเยี่ยมชมรูปแบบการบริหารจัดการน้ำบาดาลนำมาผลิตเป็นน้ำดื่มสะอาดของโรงเรียนบ้านไร่ป้า หมู่ 5 ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษา ปัจจุบันมีนักเรียนชาย-หญิง รวมทั้งสิ้น 153 คน นักเรียนทั้งหมดเป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงโดยโรงเรียนแห่งนี้ได้มีการส่งเสริมทักษะอาชีพที่หลากหลายให้กับนักเรียน อาทิ การจัดทำผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ การปักผ้า ผลิตไม้กวาด ผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป รวมทั้งการผลิตน้ำดื่มสะอาดจำหน่ายให้กับชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งทั้งหมดได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์ในการจัดทำกิจกรรมเบื้องต้นจากหลวงปู่สาครฯ หลังจากจบชั้นประถมศึกษาแล้วจะมีนักเรียนราว 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีโอกาศศึกษาเล่าเรียนต่อ ที่เหลือ 90 เปอร์เซ็นต์ต้องออกไปหางานทำหรือช่วยเหลือครอบครัวทำอาชีพเกษตรกร นายสังศิตและคณะได้มอบทุนให้แก่โรงเรียนเพื่อช่วยการพัฒนาอาชีพแก่นักเรียน และได้นำผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งคือกาแฟและย่ามของโรงเรียนมาหาตลาดให้


จากนั้นทางคณะได้เดินทางไปติดตามการจัดสร้างสระกักเก็บน้ำสะอาดของโรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ ซึ่งเปิดสอนในระดับประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้นประมาณ 800 คน สำหรับโรงเรียนแห่งนี้แม้จะอยู่ติดกับเชิงเขาแต่ต้องประสบปัญหาเรื่องของน้ำอุปโภคบริโภค เนื่องจากไม่มีสถานที่เก็บกัก หลวงปู่สาครฯ จึงร่วมกับศิษยานุศิษย์จัดสร้างสระกักเก็บน้ำ ขนาดความจุ 9,440 คิว ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องของภัยแล้งให้กับทางโรงเรียนแห่งนี้ได้เป็นอย่างดีต่อไป เนื่องจากโรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนที่ต้องพักอยู่กับโรงเรียนประมาณ 50 คนเพราะบ้านอยู่ห่างไกล ผมได้มอบทุนส่วนตัวให้แก่โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารให้แก่นักเรียนโดยการเลี้ยงไก่ไข่และการทำการเกษตร

“ผมคิดว่าทองผาภูมิ กาญจนบุรีเป็นพื้นที่สูง ยากแก่การสร้างที่กักเก็บน้ำ หน่วยงานภาครัฐไม่ได้มีโครงการใดๆ มาช่วยจัดหานำ้ให้แก่ประชาชน การอาศัยแต่หลวงปู่เป็นเรื่องดี แต่ยังไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องต้องหาเครื่องมือในการขุดเจาะบ่อบาดาลน้ำลึกโดยให้หลวงปู่เป็นศูนย์กลางก็น่าจะจัดการปัญหาเรื่องน้ำของพื้นที่ทองผาภูมิได้


“ในระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม เราได้อบรมเรื่องการจัดแก้ปัญหาการปัญหาขาดแคลนน้ำโดยใช้การสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กให้แก่สมาชิก อบต.จำนวนหลายร้อยคน นี่เป็นการใช้ความรู้ใหม่และทฤษฎีใหม่เรื่องแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อขับเคลื่อนในการปัญหาน้ำแล้งของจังหวัดกาญจนบุรี อย่างไรก็ดีการติดอาวุธทางความคิดให้แก่ประชาชนเป็นเพียงเงื่อนไขเบื้องต้น แต่ความจริงและความสุขของพี่น้องประชาชนจะเกิดขึ้นได้ยังต้องอาศัยอำนาจและหาตัวแสดง(actor) ที่จะออกมาเป็นตัวประธาน(subject) มีแต่การเกิดขึ้นของสองเงื่อนไขนี้พร้อมกันเท่านั้น การแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จของจังหวัดกาญจนบุรีจึงจะเป็นจริงครับ” นายสังศิตกล่าวในที่สุด


Let's block ads! (Why?)




August 11, 2020 at 02:23PM
https://ift.tt/2PDHZIa

วัด ศูนย์กลางศรัทธา : รูปแบบการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่สูง - ผู้จัดการออนไลน์

https://ift.tt/2Y7cf1E


Bagikan Berita Ini

0 Response to "วัด ศูนย์กลางศรัทธา : รูปแบบการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่สูง - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.