มองการณ์ไกล ผ่าปัญหาซับซ้อนที่องค์กรกำลังเผชิญ
วันที่ 06 ก.ค. 2563 เวลา 08:30 น.
การรับมือกับปัญหาเชิงองค์รวม : การสร้างฉากทัศน์เชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหาซับซ้อนเชิงรุก...นาทีนี้!! ทำไมเราต้องปรับ เราต้องปรับอะไร และปรับอย่างไร?
ปัญหาที่องค์กรกำลังเผชิญคืออะไร?
ปัญหาซับซ้อนคืออะไร?
ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล จากสถาบันอินทรานส์ Hipot - การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน เผยว่า ขณะโลกเปลี่ยนแปลงทุกนาทีนำไปสู่โลกที่ผันผวน (Disruptive World) โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ เอไอ บล็อกเชน บิ๊กเดต้า และอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของประชากรเข้าสู่ผู้สูงวัย และการระบาดของไวรัสโควิด 19
องค์การการค้าโลก (WTO) คาดไตรมาสสองปีนี้ (เม.ย.-มิ.ย.) ปริมาณการค้าทั่วโลกหดตัว 18.5% กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งคาดการณ์ว่าปีนี้จีดีพีโลกจะหดตัว 4.9 % จีดีพีไทยจะหดตัวที่ 7.7% ซึ่งต่ำสุดในอาเซียน (ธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่า จีดีพีไทยจะติดลบ 8.1%) องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในทวีปอเมริกายังไม่ผ่านจุดสูงสุด และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าและปีหน้า หากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ยังรุนแรง ไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเติบโตได้เพียง 0.5%
ขณะนี้ แม้ว่าหลายประเทศจะเริ่มเปิดธุรกิจอีกครั้ง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการลงทุนและการบริโภค ทั้งหมดนี้สร้างผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชน การผลิต การส่งออก การจ้างงาน และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป รวมทั้งความเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนเดิม องค์กรต่างๆ จึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อลดความเสี่ยง เพื่อความอยู่รอด รวมทั้งการสร้างโอกาสใหม่ๆ
แต่ที่ไม่ง่ายคือ ความท้าทายเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบซ้อนระบบ และสร้างความวิตกกังวลอย่างมากต่อความอยู่รอดของธุรกิจ เนื่องจากการแก้ปัญหาไม่สามารถใช้แนวคิดเส้นตรงเชิงเดี่ยวได้ เพราะความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้เชื่อมโยงสัมพันธ์อย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้
การปรับตัวผ่านการสร้างฉากทัศน์เชิงระบบ ในการปรับตัวมีประเด็นที่สำคัญคือ ทำไมเราต้องปรับ เราต้องปรับอะไร และปรับอย่างไร?
ในการตอบคำถามข้างต้น มันมิใช่เพียงหาทางแก้ปัญหา ณ จุดปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องปลายเหตุ แต่ต้องเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจจะมีเหตุการณ์สำคัญๆ อะไรเกิดขึ้นอีกบ้างในอนาคต และเครื่องมือที่ดีที่สุดก็คือ การสร้างฉากทัศน์อนาคต (Future Scenario) เพื่อคาดการณ์อนาคตอย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การวางยุทธศาสตร์เชิงอนาคต (Strategic Foresight) อันเป็นการเตรียมแผนรองรับฉากทัศน์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย เพื่อหาทางป้องกัน ลดความเสี่ยง ลดความเสียหาย หรือสร้างโอกาสจากสถานการณ์ดังกล่าว
ในการสร้างฉากทัศน์นั้นมีฐานรากทางความคิดมาจากแนวคิดเชิงระบบและการมองภาพเชิงองค์รวมว่ามีองค์ประกอบอะไรที่เกี่ยวข้อง และองค์ประกอบเหล่านั้นสัมพันธ์กันอย่างไร ความแตกต่างหลากหลายของฉากทัศน์ที่สร้างขึ้นจะมีความหมายอย่างยิ่ง เพราะนั่นจะนำไปสู่ความเข้าใจสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้อย่างดีที่สุด และจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการสร้างการเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่แตกต่างที่อาจเป็นไปได้
ยกตัวอย่าง ความเป็นไปได้ของการกลับมาระบาดซ้ำของไวรัสโควิด 19 หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น มีความเป็นไปได้อะไรบ้างที่เราต้องเอามาคิด เช่น
- การระบาดจะมาจากทางใดได้บ้าง จากภายในประเทศ หรือมาจากต่างประเทศ
- การระบาดจะกินวงกว้างแค่ไหน
- จะกินระยะเวลานานแค่ไหน
- แล้วเราจะป้องกันอย่างไร
- เรามีระบบสาธารณสุข เครื่องมือ และสถานที่ที่จะรองรับได้ดีและเพียงพอหรือไม่
- เรามีบุคลากรเพียงพอหรือไม่
- เราต้องใช้วัคซีนเท่าไหร่
- เราจะจัดหาวัคซีนได้ทันและเพียงพอหรือไม่
- เราจะผลิตเองหรือนำเข้ามาจากที่ใด
- หากมันกลับมาอีกครั้ง แล้วเราจะรับมือได้แตกต่างจากเดิมอย่างไร ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม แรงงาน การศึกษา การค้าขาย ค่าครองชีพเราจะพยุงระบบเศรษฐกิจ
- ระบบการเงินบ้านเราอย่างไร เราต้องอัดฉีดอีกเท่าไหร่
- และที่สำคัญคือความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชน เป็นต้น
ประเด็นต่างๆ เหล่านี้สัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ และส่งผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างเป็นวงกว้าง เป็นระบบซ้อนระบบ การสร้างการเชื่อมโยงที่หลากหลายของประเด็นต่างๆ ที่แตกต่าง จะนำซึ่งองค์ความรู้ที่แตกต่าง ที่แปลกใหม่ เพื่อที่เราจะนำความเข้าใจดังกล่าวมาใช้ลดความเสี่ยงและหาทางป้องกัน และอาจสร้างโอกาสเพื่อรองรับการฟื้นกลับมาของธุรกิจอีกครั้งการสร้างฉากทัศน์เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่นักบริหารต้องมีและการสร้างฉากทัศน์ที่หลากหลายมันสะท้อนถึงภูมิปัญญาที่แท้จริง
การรับมือเชิงรุกการสร้างฉากทัศน์ที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่สะท้อนมาจากจินตนาการหรือภาพที่เราวาดไว้ในใจโดยนำองค์ประกอบหรือประเด็นต่างๆ มาเชื่อมโยงกันเพื่อดูความสัมพันธ์ แล้วแปลงออกมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ภาพดังกล่าวหลายคนเรียกว่า กรอบความคิด หรือกระบวนทัศน์ (Paradigm) นั่นเอง ภาพดังกล่าวเป็นเรื่องของบุคคล เกิดขึ้นภายในบุคคลภาพดังกล่าวสร้างทัศนคติเชิงบวก สร้างแรงบันดาลใจ แรงขับเคลื่อนภายใน เพื่อระเบิดศักยภาพจากภายในออกมาได้อย่างเต็มที่ ศักยภาพจึงเป็นเรื่องที่เรากำหนดได้เองทั้งสิ้น เพราะมันอยู่ในอำนาจของตนเองเมื่อตนมีอำนาจ ตนก็สามารถควบคุมตนเองได้ หากบุคคลสามารถควบคุมตนเองได้ ก็สามารถนำตนเองได้ เล่นเชิงรุกได้
มนุษย์จึงสามารถขับศักยภาพภายในให้ออกมาเป็นการรับมือเชิงรุกต่อสถานการณ์ใดๆ ที่ผ่านเข้ามาได้ด้วยการเปลี่ยนกรอบความคิดซึ่งอยู่ในอำนาจของตนเองโดยการสร้างฉากทัศน์ที่หลากหลายบนฐานคิดเชิงระบบ
เพราะโลกไม่แน่นอน ซับซ้อน อ่อนไหว คลุมเครือ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติความสำคัญของนักบริหารและผู้นำองค์กรจึงเป็นความสามารถใน 3 ส่วน คือ
- การสร้างฉากทัศน์เพื่อวางยุทธศาสตร์เชิงอนาคตบนฐานการคิดเชิงระบบ การมองภาพเชิงองค์รวม
- การระเบิดศักยภาพในการนำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาสร้างการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเชิงรุก
- การสร้างทีมงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ไปในแนวเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ
July 06, 2020 at 08:33AM
https://ift.tt/3iylguo
มองการณ์ไกล ผ่าปัญหาซับซ้อนที่องค์กรกำลังเผชิญ - โพสต์ทูเดย์
https://ift.tt/2Y7cf1E
Bagikan Berita Ini
0 Response to "มองการณ์ไกล ผ่าปัญหาซับซ้อนที่องค์กรกำลังเผชิญ - โพสต์ทูเดย์"
Post a Comment