16 กรกฎาคม 2563
58
“โควิด-19” ระลอกใหม่จะกลับมาไหม แล้วที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์แก้ปัญหา “หน้ากากอนามัย” อยู่ไหน ..อย่างไรบ้าง
อุปกรณ์จำเป็นในปี 2020 นี้ไม่ใช่แค่โทรศัพท์ที่ถือว่าเป็นอวัยวะที่ 33 ในร่างกายเราเท่านั้น เพราะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ "หน้ากากอนามัย" เป็นของคู่ใจในชีวิตประจำวันแบบขาดไม่ได้
ในอดีตหน้ากากอนามัยถูกใช้ในเฉพาะวงการแพทย์ และสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เท่านั้น ราคาอยู่ที่ชิ้นละประมาณ 1-5 บาท แต่ในปัจจุบันราคาของหน้ากากอนามัยพุ่งสูงไปถึงชิ้นละ 100 บาท
ซ้ำร้ายในท้องตลาดยังหาซื้อได้ยากมากขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่จึงหันมาซื้อหน้ากากผ้าหรือเย็บกันหน้ากากใช้เอง
แต่ทั้งนี้ คำถามเรื่อง "หน้ากากอนามัยหายไปไหน?" ยังเป็นคำถามคาใจของประชาชนหลายๆ คน โดยเฉพาะคำตอบจากกระทรวงพาณิชย์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อและส่งออกหน้ากากอนามัยโดยตรง
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงรวมคำตอบจากกระทรวงพาณิชย์ และย้อนรอยดูการจัดการหน้ากากอนามัยว่าเป็นอย่างไรบ้าง
- มกราคม 2563
ภายในวันที่ 29 ม.ค. กรมการค้าภายในประชุมหารือผู้ผลิตหน้ากากอนามัยพร้อมยืนยันกำลังการผลิตประมาณ 200 ล้านชิ้นในระยะเวลา 4-5 เดือน ต่อมา จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์หน้ากากอนามัยยืนยันเร่งกำลังผลิตเต็มที่
- กุมภาพันธ์ 2563
ทางกระทรวงพาณิชย์ มีการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือ กกร. ครั้งที่1/2563 เพื่อกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม มติที่ประชุมให้หน้ากากอนามัย ใยสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ และ เศษกระดาษและกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นสินค้าควบคุม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเป็นชอบจนมีผลบังคับใช้
ความสำคัญของสินค้าควบคุมคือ รัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ สามารถกำหนดมาตรการที่จะใช้กับสินค้านั้นๆ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการค้าไม่เป็นธรรมหรือปัญหาสินค้าขาดตลาด เช่น กำหนดราคาสูงสุด ห้ามส่งออก จำกัดปริมาณการซื้อ เป็นต้น
จากนั้น 5 ก.พ. อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ลงนามในประกาศสำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (สกกร.) พร้อมประชุมร่วมกับห้างโมเดิร์นเทรด ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ ให้ขายหน้ากากอนามัยไม่เกิน 10 ชิ้นต่อคน และต่อมากระทรวงพาณิชย์ก็เปิดจำหน่ายหน้ากากให้ประชาชน โดยใช้กระทรวงพาณิชย์สนามบินน้ำเป็นสถานที่จำหน่าย ซึ่งดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยให้การกระจายสินค้าทั่วถึง จึงมีการประชุมร่วมกับแพลตฟอร์มไทยหารือการจำหน่ายหน้ากากอนามัยออนไลน์
- มีนาคม 2563
ทางกรมการค้าภายใน ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ เปิดศูนย์บริหารจัดการสินค้าหน้ากากอนามัยกระจายแบ่งเป็นดังนี้
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
- หน้ากากอนามัย 800,000 ชิ้นกระจายโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลกรมการแพทย์
- หน้ากากอนามัย 500,000 ชิ้นกระจายไปโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
- หน้ากากอนามัย 115,000 ชิ้น กระจายไปสถานพยาบาลเอกชน
- หน้ากากอนามัย 45,000 ชิ้น กระจายไปสมาคมคลินิกไทย
- หน้ากากอนามัย 70,000 ชิ้น กระจายไปโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- หน้ากากอนามัย 70,000 ชิ้น กระจายไปสำนักอนามัย
สำหรับประชาชน
- จำนวน 300,000 ชิ้น ขายผ่านร้านธงฟ้าและร้านขายยา
- จำนวน 100,000 ชิ้น ขายผ่านเทสโก้โลตัส 180 สาขา
- จำนวน 100,000 ชิ้น ขายผ่านแม็คโคร 95 สาขา
- จำนวน 100,000 ชิ้น ขายผ่านBIG C 150 สาขา
- จำนวน 60,000 ชิ้น ขายผ่านวิลล่ามาร์เก็ต 36 สาขา
- จำนวน 100,000 ชิ้น ขายผ่านTOPS 204 สาขา
- เมษายน 2563
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยประกาศผลสอบเรื่องการทุจริตหน้ากากอนามัย
โดยผลคือการสอบทางคณะกรรมการฯ ไม่ได้พุ่งเป้าไปยังบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่จะเน้นตรวจสอบในเรื่องของการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยที่มีการร้องเรียนผ่านหลายหน่วยงาน และผลสอบของคณะกรรมการฯ ชุดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสอบข้อเท็จจริงเท่านั้นยังไม่เป็นข้อสรุปว่าตัดสินว่าใครผิดหรือไม่ผิด เพราะต้องเสนอไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่อีกที ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของปลัดกระทรวงพาณิชย์
- มิถุนายน 2563
กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ. 2542 สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลล้างมือแอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์ เพิ่มอีก 4 รายคือ กรุงเทพฯ 3 ราย เป็นผู้จำหน่ายหน้ากากอนามัยผ่านทางเฟซบุ๊ค 1 ราย
โดยสถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ ตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.-2 มิ.ย.63มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 431 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ 195 ราย และต่างจังหวัด 236 ราย
ปัจจุบันภายในเดือนกรกฎาคม ทางกระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องหน้ากากแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อลงตรวจสอบการซื้อหน้ากากอนามัยในตลาดแล้ว ยังไม่สามารถหาซื้อหน้ากากอนามัยได้อย่างแพร่หลาย และราคายังคงสูงอยู่เช่นกัน
July 16, 2020 at 05:15PM
https://ift.tt/2ZyCsIz
'หน้ากากอนามัย' อยู่ไหน? ย้อนรอย 'พาณิชย์' แก้ปัญหาอย่างไร - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2Y7cf1E
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'หน้ากากอนามัย' อยู่ไหน? ย้อนรอย 'พาณิชย์' แก้ปัญหาอย่างไร - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment