Search

อย่าซ้ำเติมปัญหาเหลื่อมล้ำ - สยามรัฐ

https://ift.tt/2XZS4CW

แม้จะไม่เลื่อนกำหนดการจัดเก็บภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างออกไป หลังจากที่เลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนเมษายน ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท พ.ศ. .... เพื่อลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 63 ลง 90% ให้แก่เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย และรกร้างว่างเปล่า เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด แต่ยังคงให้มีการชำระภาษีตามกำหนดเดิมในเดือนสิงหาคมนี้

ทั้งนี้การลดภาษีดังกล่าวจะทำให้รายได้ที่คาดจะจัดเก็บได้ราว 4 หมื่นล้านบาท เหลือประมาณ 4 พันล้านบาท หรือเท่ากับหายไป 3.6 หมื่นล้านบาท

สำหรับหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกกฎหมายลำดับรองตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยเรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย และเรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งจะทำให้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ มีกฎหมายลูกครบถ้วน 18 ฉบับ โดยประกาศใหม่ทั้ง 2 ฉบับ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างลักษณะใดเป็นการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย และลักษณะใดใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม เพื่อให้ อปท.จัดเก็บภาษีได้ถูกต้อง

โดยที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยได้แก่ 1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง บ้านหลังที่2ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัย ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยแบบรายเดือน (เช่น บ้านเช่า อพาร์ทเม้นท์ หอพัก คอนโด เป็นต้น) และโฮมสเตย์ ให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัยดังนั้นตัดปัญหาก่อนหน้านี้มีข่าวว่าบ้านหลังที่ 2 ต้องเสียภาษี 3 พันบาทสำหรับมูลค่า 1 ล้านบาท

2.ให้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น

3.ไม่รวมถึงโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่าง การพัฒนา หรือสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้ขายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

สำหรับประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม เพื่อป้องกันที่ดินว่างเปล่ามาปลูกพืชหลีกเลี่ยงการจัดเก็บภาษีที่ดิน จึงกำหนดการใช้ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้หมายความรวมถึงการปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำนาเกลือสมุทร การทำสวนป่า การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค หรือจำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม และให้รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ต่อเนื่องที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมนั้นด้วย สำหรับระยะเวลาในการประกอบเกษตรกรรมให้รวมถึงช่วงเวลาพักการเกษตร เพื่อฟื้นฟูสภาพที่ดิน หรือการพักที่ดินระหว่างฤดูกาลผลิต หรือการตัดวงจรโรคด้วย

ทั้งนี้มีบัญชีแนบท้ายการประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชดังต่อไปนี้ จะต้องประกอบการเกษตรให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในตาราง จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม มีกำหนด 51 พืชชนิด เช่น กล้วยต้องปลูก 200 ต้น/ไร่ สตอเบอรี่ 10,000 ต้น/ไร่ ส้ม ละมุด ลางสาด ลองกอง 45 ต้น/ไร่ ลิ้นจี่ ลำไย 20 ต้น/ไร่ มะละกอยกร่อง 100 ต้น/ไร่ มะนาว 50 ต้น/ไร่ เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย 1 ตัวต่อ 5 ไร่

ดูเหมือนว่าจะมีความพยายามอุดช่องโหว่ เจ้าของที่ดินเลี่ยงภาษี ด้วยการทำการเกษตร เพราะมีอัตราภาษีต่ำสุดคือ 0.01%ต่ำกว่าภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าต้องเสียภาษี 0.3% ภาระหนักจึงอยู่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องตรวจสอบว่าที่ดินที่แจ้งว่าใช้พื้นที่เป็นการเกษตรนั้นอย่างตรงไปตรงมา ว่าดำเนินการตามข้อกำหนดหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซ้ำเติมว่าอุ้มคนรวย ไม่ช่วยคนจน ในภาวะที่สถานการณ์เปราะบางเช่นนี้

Let's block ads! (Why?)




June 08, 2020 at 12:10AM
https://ift.tt/2BBEMoA

อย่าซ้ำเติมปัญหาเหลื่อมล้ำ - สยามรัฐ

https://ift.tt/2Y7cf1E


Bagikan Berita Ini

0 Response to "อย่าซ้ำเติมปัญหาเหลื่อมล้ำ - สยามรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.