7 ปัญหาพาองค์กรล่ม..เมื่อโลกเปลี่ยน ทำไมคนไม่ปรับ?
วันที่ 22 มิ.ย. 2563 เวลา 08:08 น.
การรับมือกับปัญหาไวรัสโควิด 19 เชิงองค์รวม : กระบวนการเรียนรู้เชิงองค์รวม ทำไมคนไม่เปลี่ยน ที่เปลี่ยนก็ไม่ยั่งยืน
โลกเปลี่ยนอย่างเป็นพลวัต ไม่แน่นอน คลุมเครือ ซับซ้อน ไม่เคยหยุดนิ่งแม้ขณะใดขณะหนึ่ง แต่ในทุกขณะกำลังปรับเข้าสู่สมดุลใหม่เทคโนโลยีก้าวกระโดดในอัตราเร่ง แต่ก็ล้าสมัยชั่วข้ามคืน สังคมอ่อนแอ ขาดพลัง การปรับตัวรุนแรง ใครตามไม่ทันต้องล่มสลาย ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำๆ แก้กี่ครั้งก็เหมือนเดิม บางคนอยากจะเปลี่ยน บางคนไม่คิดจะเปลี่ยน บางคนพยายามจะเปลี่ยน แต่สุดท้ายก็ละความพยายาม จึงเกิดคำถามว่าเมื่อโลกเปลี่ยนแล้วทำไมคนไม่ปรับ มีที่เปลี่ยนบ้าง แต่ก็ไม่ยั่งยืน ท่านคิดว่าเพราะอะไร
ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล จากสถาบันอินทรานส์ Hipot-การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน ชี้ว่าหากพิจารณาในเชิงลึก ก็พบประเด็นปัญหาเหล่านี้ที่มักเกิดมาจาก
1.บุคลากรเน้นแต่การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ แต่ขาดทักษะชีวิต ไม่รู้ว่าองค์กรมีชีวิต ไม่สามารถทำคนให้เป็นมนุษย์ อีกทั้งไม่รู้ว่าอะไรคือองค์ประกอบของชีวิต และไม่เข้าใจว่าจะพัฒนาส่วนผสมชีวิตนั้นอย่างไรเพื่อให้ยั่งยืนการพัฒนาจึงเป็นแบบแกนๆ ขาดคุณค่าและความหมาย
2.หลายคนยังยึดติดอยู่กับกรอบความคิดแคบๆ ภาพความสำเร็จเก่าๆ มีมุมมองแบบเดิมๆ มีทัศนคตเชิงลบ ไม่พัฒนาตนเอง ไม่เล่นเชิงรุก ขาดวิสัยทัศน์ ขาดเป้าหมายชีวิต ขาดความมุ่งมั่น ขาดแรงบันดาลใจ จึงไม่สามารถพัฒนาและระเบิดศักยภาพจากภายในได้ด้วยตนเองไม่สามารถนำตนเองได้ ไม่กล้าเปลี่ยน กลัวพลาด เกาะของเดิมไว้ปลอดภัยกว่าเวลาเจอปัญหา จึงมักเน้นแต่การปรับแต่งพฤติกรรมเพียงเพื่อ “เพิ่มประสิทธิภาพ” อย่างฉาบฉวย แต่เข้าไม่ถึงฐานรากชีวิต การพัฒนาจึงไปไม่ถึงไหน การเปลี่ยนแปลงจึงไม่เกิดขึ้นจริง ความยั่งยืนยังห่างไกล
3.บุคลากรขาดแนวคิดเชิงระบบ ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญ จับประเด็นหลักไม่ได้ เชื่อมโยงก็ไม่ถูก จึงขาดปัญญาและไม่เข้าใจว่าปัญหาต่างๆ มันถักทอ ทับซ้อนกันอย่างเป็นร่างแห ไม่อาจแยกออกจากกันได้ใช้แต่มุมมองเชิงเดี่ยว แยกส่วน จึงไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งขาดมุมมองเชิงองค์รวม จึงขาดความคิดที่แตกต่างที่แปลกใหม่ติดอยู่กับคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว แต่ขาดทางเลือกที่สร้างสรรค์ คับแคบจึงไม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจได้
4.หลายคนมักคิดว่าชีวิตเราเกิดมาเพื่อเรียนรู้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะชีวิตกับการเรียนรู้ มันคือเรื่องเดียวกัน เราจึงต้องเรียนรู้ตลอดเวลา มันคือการเรียนรู้ตลอดชีวิตแต่คนส่วนใหญ่หยุดการเรียนรู้ คิดว่าพอแล้ว จึงไม่ใฝ่รู้ หยุดการค้นคว้าวิจัยหลายคนคิดไม่เป็น ต้องการแค่คำตอบสุดท้ายสำเร็จรูป แต่ขาดกระบวนการเรียนรู้จึงไม่สามารถพัฒนาองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้
5.บุคลากรไม่เห็นคุณค่าตนเอง ขาดความเคารพในตนเอง คิดลบต่อตนเองจึงทำให้ขาดความเชื่อมั่น ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ภายในหวั่นไหวและอ่อนไหว คิดว่าชีวิตหมุนไปตามกระแสสังคมที่มีผลกระทบต่อตนเองอย่างไม่มีทางเลือกจึงไม่สามารถปลดปล่อยศักยภาพตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่ เหมือนมีอะไรมาฉุดรั้งไว้ ทั้งๆ ที่ตนมีศักยภาพอยู่อย่างเหลือเฟือ เลยไม่รู้ว่าจะตอบสนองอย่างไรเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น สุดท้ายก็กลายเป็นเหยื่อ
6.บุคคลก็ไม่เห็นคุณค่าในความแตกต่าง ไม่เห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์มักเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง จึงไม่เปิดใจกว้างรับฟัง ขาดศรัทธา ไม่เข้าใจกัน ไม่ไว้ใจกัน จึงไม่สามารถระเบิดศักยภาพทีมงานอย่างมีพลังร่วม การทำงานจึงขาดเอกภาพ
7.ผู้นำองค์กรขาดความเข้าใจว่าองค์กรคือชีวิต ไม่เข้าใจว่าคนคือมนุษย์ มีชีวิตที่ต้องการคุณค่าและความหมาย จึงไม่เห็นคุณค่าของคน เมื่อตนไม่เห็นค่าคนอื่น ตนจึงไม่ได้รับการยอมรับ ภาวะผู้นำก็ไม่เกิดองค์กรเมื่อขาดผู้นำ บุคคลก็เล่นไปคนละทิศคนละทาง เล่นไม่เป็นทีม ขาดการมีส่วนร่วม ขาดเป้าหมายร่วม ไม่เสียสละ ไม่เกื้อกูลกัน ทั้งองค์กรจึงเล่นไม่สอดคล้องไปในแนวเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพหนึ่งเดียว
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มิใช่ของใหม่ มันเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกและจะเป็นเช่นนี้ต่อไป และเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนขององค์กรท่านคิดว่ามันถึงจุดเปลี่ยนหรือยัง หรือยังทนได้อยู่ เรารู้ว่าเราต้องเปลี่ยน แต่ทำไมคนไม่เปลี่ยน มีที่เปลี่ยนบ้าง แต่ก็ไม่ยั่งยืนท่านคิดว่าอะไรคือสาเหตุ รากของปัญหามันอยู่ที่ไหน อะไรทำให้องค์กรแตกต่างกัน ท่านจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้อย่างไรและหากปัญหานี้เป็นจริงในที่ทำงาน มันก็จริงในครอบครัวด้วย แล้วท่านจะพาคนที่ท่านรักให้อยู่รอดอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
ท่านในฐานะผู้นำองค์กร ท่านจะนำความเข้าใจดังกล่าวไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้มแข็ง มั่นคงยั่งยืนได้อย่างไรต้องเปลี่ยนทุกคนไหม แล้วควรจะเริ่มที่ใครก่อน ระดับใดต้องมีทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงไหม ต้องพัฒนายาวนานแค่ไหน ต้องต่อเนื่องไหม ถ้าลองเปลี่ยนแล้ว มันยังล้มเหลวอีก ท่านจะทำอย่างไร
เพราะธุรกิจคือชีวิต ความยั่งยืนคือหัวใจของความสำเร็จ การปรับตัวอย่างยืดหยุ่นคือคำตอบ
หากปรับตัวเอาชนะภาวะนั้นได้เรื่อยๆ เรียกว่า "สมดุล" หากรักษาสมดุลนั้นได้เรื่อยๆ เรียกว่า "เข้มแข็ง" หากรักษาความเข้มแข็งนั้นไว้ได้เรื่อยๆ เรียกว่า "มั่นคง" หากรักษาความมั่นคงนั้นได้เรื่อยๆ เรียกว่า "ยั่งยืน"
June 22, 2020 at 08:13AM
https://ift.tt/3hRY6yv
7 ปัญหาพาองค์กรล่ม..เมื่อโลกเปลี่ยน ทำไมคนไม่ปรับ? - โพสต์ทูเดย์
https://ift.tt/2Y7cf1E
Bagikan Berita Ini
0 Response to "7 ปัญหาพาองค์กรล่ม..เมื่อโลกเปลี่ยน ทำไมคนไม่ปรับ? - โพสต์ทูเดย์"
Post a Comment